วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เพลงอกหัก

อกหัก


คำว่า "อกหัก"...ใครที่รักใครไม่เป็นก็คงไม่รู้จักคำนี้.. และคำว่า "อกหัก"...ถ้าใครมีความรักที่สมหวัง ก็จะไม่รู้จัก คำ ๆ นี้เช่นกัน...

ในเมื่อคนสองคนที่มีใจที่ตรงกัน ได้มารักกัน ได้เดินทางในเส้นทางเดียวกัน...

ต่อมาระยะหนึ่ง...ความรักที่มีนั้น ไม่เหมือนเดิม ใจไม่ตรงกัน อาจเพราะว่า ใครคนใดคนหนึ่ง มีใจไม่เหมือนเดิม หรืออาจจะเป็นว่า ทั้งสองคนร่วมใจกันใจไม่ตรงกัน...เป็นการใจตรงกันครั้งสุดท้าย.. คนสองคนหมดรักกัน และจากกันไป เพื่อ "ไปเดินในเส้นทางใหม่"ที่ตนต้องการ..


กรณีคนอกหัก
เป็นประเภท...เราใจเหมือนเดิม แต่เขา เปลี่ยนไป เหมือนโลกทั้งโลก...ทะลายไป...
รู้สึกว่า ตัวเองไม่มีค่า คิดแต่ว่า " ฉันผิดอะไร? "
เขาทำไมจากไป ทำไม ทำไม และทำไม

ณ เวลานั้น คนอกหัก จะกลายเป็นคนช่างคิดช่างตั้งคำถาม คิดอะไรรกหัวไปหมด..แต่ออกจะคิดแคบไปหน่อย คิดแต่เรื่องเขาคนนั้น...ด้วยคำถามว่า...ทำไม

ตัวอย่างของคำถามจากคนอกหัก...ที่ต้องการคำตอบจากเขา (แต่เขาไม่อยู่ให้ตอบคำถาม)
1. ทำไมถึงเลิกกับเรา?
2. เธอมีใครใหม่หรือ?
3. เธอจะคิดถึงฉันไหม?
4. ทำไมเหงาอะไรอย่างนี้นะ...เธอล่ะ?
5. เธอทำอะไรอยู่นะ...?
ฯลฯ

คิดโทษแต่ตัวเอง....

ร้องไห้...ร้องไห้....และร้องไห้....เหมือนคนบ้า.....อยู่ดี ๆ ก็ร้องไห้.....
ทำตัวห่อเหี่ยว เสมือนหมดแรงเพราะทำงานตรากตรำ... สมองฝ่อไปชั่วขณะ....

บางที สำหรับบางคน.....
ไม่รู้ว่าใช้สมองส่วนไหนคิด...เขาคิดทำร้ายตัวเอง บางคนถึงกับชีวิตก็มี
เพื่ออะไร?... พวกนี้ไม่รู้จักใช้สมองอันน้อยนิดที่ปลายนิ้วมือคิดเลย...(จริง ๆ)

เสียใจกับความรักที่มันไม่มีทางกลับมาเหมือนเดิมน่ะได้....แต่อย่าเสียใจนานนัก...

เราเสียใจ...ร้องไห้....ทำร้ายตัวเอง จะมากน้อยเท่าไร
"เขาคนนั้นไม่มารับรู้อะไรด้วยหรอก"


ขณะที่คุณร้องไห้...เสียใจ คิดถึงแต่เขา นึกถึงแต่เขา...
คุณทำร้ายตัวเอง....เขาคนนั้น กำลังนึกถึงคนอื่น มีความสุขอยู่กับรักใหม่ของเขา
โดยที่เขาไม่ได้นึกถึง ไม่ได้คิดถึงคุณแม้แต่น้อยนิดเลย...

ในเมื่อรู้อย่างนี้แล้ว...คิดอะไรได้รึยัง?



คิดซะ...เขาคนที่ทำเราร้องไห้ได้น่ะ ไม่ได้มีค่าอะไรเลย กับชีวิตที่มีค่าของเรา
อยู่มาได้อายุเท่านี้ ก่อนหน้านี้ไม่มีเขาเราก็ไม่ตาย ประสาอะไรกับตอนนี้
ณ วินาทีนี้ เราจะไม่มีเขาแล้ว จะเป็นอะไรไป...

ชีวิตมีค่า เวลาที่มีอยู่ใช้ให้คุ้มกับคนที่เขาหวังดี รักเรา เถอะนะ...
รักตัวเองให้มากขึ้น...มองโลกให้กว้างกว่านี้ แล้วคุณจะเห็นอะไรดี ๆ มากมาย

คนรอบ ๆ ข้างคุณ เพื่อน ๆ คุณ ก็ช่วยให้คุณหัวเราะได้แค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น....
มีแต่ตัวคุณเองเท่านั้นแหล่ะ...ที่จะช่วยให้ตัวคุณเองยิ้มและหัวเราะได้...

หาอะไรทำเพื่อที่จะได้ไม่คิดฟุ้งซ่านกับเรื่องเลวร้ายอย่างนั้นซะ....
ถึงแม้มันจะเหมือนการหลอกตัวเอง หลอกคนอื่นว่าคุณทำใจได้ แต่ว่า มันก็ดีซะกว่า คุณไม่รักตัวเอง....

การตกแต่งห้องนอน


ห้องนอน ถือว่าเป็นสถานที่ส่วนตัว การออกแบบตกแต่ง จึงสามารถ ทำให้มีลักษณะ เฉพาะตัว ที่เด่นชัดออกมาได้เต็มที่ และตามสไตล์ ที่ผู้อยู่ต้องการ ได้ด้วย เนื่องจากพื้นที่ในห้องนอนนั้น เป็นพื้นที่ส่วนตัว ที่พ้นจากสายตาคนอื่นๆ และยังเป็นห้องที่เหมาะที่สุด ในการสร้างสรรค์ ตามความประสงค์ ของผู้อยู่อย่างมาก

บางคนอาจจะชอบห้องนอนที่เต็มไปด้วยบรรยากาศแบบไทยๆ ที่สามารถจะใช้โต๊ะ ตั่ง
คันฉ่องหรือ กระจก มาตกแต่ง การวางที่นอนบนพื้นก็เป็นการเพิ่มบรรยากาศให้ห้องน่าอยู่มิใช่น้อย หรือบางคนอยากจะแต่งให้โมเดิร์นสุดก็ย่อมที่จะทำได้ เพราะห้องนอนเปรียบเสมือนโลกส่วนตัวของแต่ละบุคคลที่สามารถจะสร้างสรรค์สิ่งที่ต้องการได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องคำนึงถึงรสนิยมและประโยชน์การใช้สอยร่วมกับผู้อื่น เหมือนกับการตกแต่งในห้องอื่นๆ
การจัดแสงมีบทบาทอย่างมาก ในการตกแต่งห้อง ไม่ว่าจะเป็น ห้องแบบไหนก็ตาม ก่อนจะตัดสินใจ ว่าจะใช้แสงอย่างไรเราต้องคำนึงถึง บรรยากาศ ที่ต้องการนั้นก่อน ว่าต้องการบรรยากาศ ที่ต้องการนั้นก่อนว่า ต้องการบรรยากาศในห้องนอน แบบไหนถ้าต้องการห้องนอนที่เต็มไปด้วย บรรยากาศยามเช้า ที่กระปรี้กระเปร่า ก็ต้องเปิดหน้าต่าง ด้านที่แดดยามเช้า สามารถสาดส่องเข้ามาได้ แล้วปิดไว้ด้วยม่าน 2 ชั้นที่เป็นทั้งม่านทึบ และโปร่งแสง สามารถเปิดออกได้เพื่อปล่อยให้แสงยามเช้า สาดเข้ามาได้ แต่วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ตกแต่งภายใน ควรมีสีและพื้นผิว ที่ทนทานต่อแสงแดด แต่ถ้าต้องการ บรรยากาศที่โรแมนติก เหมือนอยู่ในยาม ค่ำคืนตลอดเวลา ก็ต้องปิดกั้นให้แสงธรรมชาติ เข้ามาในห้องได้น้อยที่สุด .

บางคนชอบที่จะตกแต่งห้องนอนโดยการเน้น ที่จุดเด่นของห้องให้อยู่ที่เตียง ดังนั้นจึงมีการเลือกแบบ และตำแหน่งของเตียงเป็นพิเศษ เตียงมีด้วยกัน หลายลักษณะ เช่น เตียงที่มีสี่เสา เตียงเหล็กหล่อ แบบเก่า เตียงแบบโบราณ เตียงทองเหลืองเตียงไม้ และเตียงไม้แกะสลัก เป็นต้น การเพิ่มสีสันให้กับเตียง ด้วยการตกแต่ง โดยใช้ผ้าโทนสีนุ่มนวลละมุนตา มาทำเป็นหมอนอิง ผ้าคลุมเตียง และม่าน ซึ่งผ้าที่ใช้นั้น อาจจะมีลวดลายที่เหมือนกัน หรือจะเป็นลวดลาย ที่เข้ากันได้

สำหรับผู้ที่ชอบความสง่างาม ภูมิฐาน ควรที่จะเลือกใช้เตียงสี่เสา และตกแต่งด้วยผ้าลายคลาสสิก จับจีบติดไว้บนหลังคาเตียง แล้วรวมปล่อยชายไว้ที่เสาทั้งสี่ห้วยเชือกถักเส้นใหญ่ ซึ่งควรให้มีลักษณะ ที่ไปกันได้ ม่านหน้าต่างโดยจับจีบติดครุยและพู่ จะเป็นการช่วยให้ห้องดูงดงามมากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นอุปกรณ์อย่างอื่นยังสามารถช่วย ให้การจัดห้องนอนดูสมบูรณ์ขึ้นได้ คือ พรมปูหน้าเตียง ภาพตั้งบนโต๊ะข้างเคียง โคมไฟซึ่งมีทั้งแบบตั้ง และแบบแขวนที่สามารถปรับแสงได้ เป็นต้น
แต่ถ้าใครไม่ต้องการตกแต่งโดยให้เตียงนอน สะดุดตา ก็สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น การกั้นบริเวณ ที่วางเตียง โดยใช้เฟอร์นิเจอร์ หรือผนังเตี้ยๆ หรือจะเลือกใช้เตียงแบบเรียบๆ ที่มีขนาดเล็ก และสามารถพับเก็บได้

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันครู


วันครูของประเทศไทย
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคียาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบ การจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทหลักดังนี้

กิจกรรมทางศาสนา
พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการจรรยา

อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน


อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี และมีลักษณะเด่นทางธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง เช่น ทะเลสาบ น้ำตก ถ้ำ หน้าผาที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 1,821,687.84 ไร่ หรือ 2,914.70 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา : เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐานที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเสด็จที่เขื่อนแก่งกระจาน ได้รับสั่งให้นายถนอม เปรมรัศมี อธิบดีกรมป่าไม้ เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2522 ได้มีกระแสพระราชดำรัสว่า “เรื่องป่าต้นน้ำ ลำธารของแม่น้ำเพชรบุรี ขอให้เจ้าหน้าที่ดูแลรักษาอย่าให้มีการลักลอบตัดไม้ ถางป่า ทำไร่ในป่าต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี เพราะจะทำให้เกิดความแห้งแล้ง แม้จะได้มีการให้สัมปทานป่าแปลงนี้ไปบ้างแล้ว ก็ขอให้ เจ้าหน้าที่ตรวจดูแลการทำไม้ อย่าให้เป็นการทำลายป่าเกิดขึ้น” จากพระราชดำรัสดังกล่าวประกอบกับนโยบายของรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 452/2523 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2523 ให้นายสามารถ ม่วงไหมทอง นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นบริเวณพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารแม่น้ำเพชรบุรีเหนือเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ตามหนังสือรายงานการสำรวจ ด่วนที่สุด ที่ กส 0708/จช. 67 ลงวันที่ 15 เมษายน 2523 รายงานว่า บริเวณป่าดังกล่าวเป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี เป็นภูเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าสมบูรณ์ มีทิวทัศน์สวยงาม ประกอบด้วยน้ำตก ถ้ำ หน้าผา ทะเลสาบ พันธุ์ไม้มีค่านานาชนิด เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าต่างๆ เช่น เลียงผา วัวแดง กระทิง นก ปลาต่างๆ และช้างป่า ซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและศึกษาความรู้ด้านต่างๆ ทั้งเป็นการรักษาสภาพป่าให้คงอยู่เป็นสมบัติของชาติถาวรสืบไปดังพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณพื้นที่ป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ในท้องที่ตำบลน้ำกลัดเหนือ กิ่งอำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอเขาย้อย และตำบลสองพี่น้อง ตำบลแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมเนื้อที่ 1,548,750 ไร่ หรือ 2,478 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 92 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 28 ของประเทศ

ต่อมาคณะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้มีหนังสือลงวันที่ 17 ตุลาคม 2525 ถึงนายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้อนุรักษ์ป่าห้วยแร่ห้วยไคร้ ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วย กรมป่าไม้ จึงให้ นายสามารถ ม่วงไหมทอง ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และนายรุ่งโรจน์ อังกุรทิพากร เจ้าพนักงานป่าไม้ 2 สำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น ปรากฏว่า ในบริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าสมบูรณ์ดี มีทิวทัศน์สวยงาม มีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผา ลานหิน และมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กส 0713(กจ) /78 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2526 เห็นควรให้ขยายเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานออกไปครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าว

กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ต่อมาได้มีมติการประชุมครั้งที่ 1/2527 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2527 ให้ขยายเขตอุทยานแห่งชาติให้ครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ ในท้องที่ตำบลแก่งกระจาน ตำบลสองพี่น้อง ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครอบคลุมเนื้อที่ 273,125 ไร่ หรือ 437.00 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 194 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2527 รวมเนื้อที่ 1,821,875 ไร่ หรือ 2,915 ตารางกิโลเมตร

ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุด และจังหวัดเพชรบุรี ได้ขอเพิกถอนพื้นที่เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เพรียง เนื้อที่ 28 ไร่ 2 งาน และอ่างเก็บน้ำห้วยป่าแดง เนื้อที่ 158 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ บางส่วนในท้องที่ตำบลห้วยแม่เพรียง และตำบลป่าเต็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ 187.16 ไร่ หรือ 0.30 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 64 ก ลงวันที่ 24 กันยายน 2541 ทำให้ในปัจจุบันอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานคงเหลือพื้นที่ 1,821,687.84 ไร่ หรือ 2,914.70 ตารางกิโลเมตร

ทิวลิป


ที่มาของชื่อ
แม้ว่าทิวลิปจะเป็นดอกไม้ที่ทำให้นึกถึงฮอลแลนด์ แต่ทั้งดอกไม้และชื่อมีที่มาจากจักรวรรดิเปอร์เชีย ทิวลิปหรือ “lale” (จากเปอร์เชีย لاله, “lâleh”) เช่นเดียวกับที่เรียกกันในตุรกี เป็นดอกไม้ท้องถิ่นของตุรกี, อิหร่าน, อัฟกานิสถาน และบางส่วนของเอเชียกลาง แม้ว่าจะไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้นำทิวลิปเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปแต่ที่สำคัญคือตุรกีเป็นผู้ทำให้ทิวลิปมีชื่อเสียงที่นั่น เรื่องที่เป็นที่ยอมรับกันก็คือ Oghier Ghislain de Busbecqไปเป็นราชทูตของสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในราชสำนักของสุลต่านสุลัยมานมหาราชแห่งจักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1554 Busbecq บรรยายในจดหมายถึงดอกไม้ต่างๆ ที่เห็นที่รวมทั้งนาร์ซิสซัส ดอกไฮยาซินธ์ และทิวลิปที่ดูเหมือนจะบานในฤดูหนาวที่ดูเหมือนผิดฤดู (ดู Busbecq, qtd. in Blunt, 7) ในวรรณคดีเปอร์เชียทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ต่างก็ให้ความสนใจกับดอกไม้ชนิดนี้

คำว่า “tulip” ที่ในภาษาอังกฤษสมัยแรกเขียนเป็น “tulipa” หรือ “tulipant” เข้ามาในภาษาอังกฤษจากฝรั่งเศสที่แผลงมาจากคำว่า “tulipe” และจากคำโบราณว่า “tulipan” หรือจากภาษาลาตินสมัยใหม่ “tulīpa” ที่มาจากภาษาตุรกี “tülbend” หรือ “ผ้ามัสลิน” (ภาษาอังกฤษว่า “turban” (ผ้าโพกหัว) บันทึกเป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และอาจจะมาจากภาษาตุรกีอีกคำหนึ่งว่า “tülbend” ก็เป็นได้)